Monthly Archives: December 2013

วาจาสุภาษิต : สนุกปากอย่าให้ลำบากคนอื่น

วาจาสุภาษิต การพูดดี

วาจาสุภาษิต คือคำพูดที่เรากลั่นกรองไว้ดีแล้วด้วยใจที่ผ่องใสแล้วค่อยพูดออกมา ประกอบด้วย
1.เป็นเรื่องจริง
2.เป็นคำที่สุภาพ ไม่หยาบคาย ไม่เสียดสี ไม่ดูถูกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของใคร หรือพูดอีกอย่างคือการให้เกียรติคนอื่นนั่นเอง
3.เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ ต่อทั้งคนพูดและคนฟังด้วย
4.พูดด้วยจิตที่เมตตา ปรารถนาดีกับคนฟังจริงๆ โดยไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง
5.ต้องพูดให้ถูกกาลเทศะ คือ ดูเวลาและสถานที่ให้เหมาะสม ว่าเวลาไหนควรพูด และควรพูดที่นี่หรือเปล่า

นอกจากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังให้หลักการพูดเอาไว้อีก 6 ประการ คือ
1.คำไม่จริง ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นที่รัก(ของคนฟัง) = เราจะไม่พูด
2.คำไม่จริง ไม่มีประโยชน์ แต่ว่าเป็นที่รัก(ของคนฟัง) = เราจะไม่พูด
3.ถึงจะเป็นคำจริง แต่ไม่มีประโยชน์ แล้วก็ไม่เป็นที่รัก(ของคนฟัง) = เราจะไม่พูด
4.เป็นคำจริง ไม่มีประโยชน์ แต่เป็นที่รัก(ของคนฟัง) = เราจะไม่พูด
5.เป็นคำจริง มีประโยชน์ แต่ว่าไม่เป็นที่รัก(ของคนฟัง) = อันนี้ต้องรอจังหวะให้ดีค่อยพูด
6.เป็นคำจริง มีประโยชน์ แล้วก็เป็นที่รัก(ของคนฟัง) = เราจึงจะพูด  

นิทานชาดก สัมโมทมานชาดก : หายนะมาเยือนเพราะเพื่อน(นกกระจาบ)ไม่สามัคคี

นิทานชาดก สัมโมทมานชาดก นกกระจาบไม่สามัคคี

เหตุที่ตรัสชาดก สัมโมทมานชาดก : ทรงปรารภการทะเลาะกันของพระญาติทางฝ่ายเมืองกบิลพัสดุ์ กับพระญาติทางฝ่ายเมืองโกลิยะ อันมีต้นเหตุมาจาการที่ชาวเมืองแย่งน้ำกันทำนา ต่างฝ่ายต่างก็ต้องการน้ำ เมื่อตกลงกันไม่ได้ก็ทะเลาะกัน พูดจากระทบกระแทกอีกฝ่ายด้วยความสะใจ ความทราบไปถึงฝ่ายปกครองและราชวงศ์ ทั้งสองฝ่ายจึงยกทัพมาพร้อมรบ

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

ณ ป่าใหญ่แห่งหนึ่ง มีนกกระจาบหลายพันตัวอาศัยอยู่  แต่เมื่อเร็วๆนี้ เป็นที่สังเกตได้ว่า ประชากรนกกระจาบได้หดหายไปจำนวนมาก ฝ่ายหัวหน้าฝูงนกกระจาบเมื่อเห็นพรรคพวกหดหายไปเรื่อยๆ เช่นนั้น ก็พยายามสืบจนได้ความว่า มีนายพรานคนหนึ่งแอบเอาข่ายไปดักจับนกกระจาบ หัวหน้าจึงเรียกประชุมนกกระจาบทั้งหมดแล้วประกาศให้ทราบ และบอกวิธีเอาตัวรอด

“…ดังนั้น ตั้งแต่วันนี้ไป หากพวกเราติดข่ายนายพรานให้พร้อมใจกันเอาศีรษะลอดตาข่าย แล้วพากันออกแรงบินยกข่ายขึ้นไปครอบไว้บนต้นไม้สูงๆ แล้วก็บินหลบออกมาด้านล่าง เท่านี้พวกเราก็จะเอาชีวิตรอดออกมาได้ เข้าใจไหม”

นิทานชาดก นัจจชาดก : ลำแพนลำพอง

เหตุที่ตรัสชาดก นัจจชาดก : ทรงปรารภพระภิกษุผู้มีภัณฑะมากรูปหนึ่ง เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถาม แม้ภิกษุผู้นั้นจะรับว่าจริง แต่ก็โกรธ จึงเปลี้องจีวรออก ยืนเป็นคนเปลือยอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ แล้วหันหลังเดินจากไป สักพักก็มาขอสึก ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้นก็วิพากษ์วิจารย์ต่างๆนานา พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าไม่ใช่แต่ในบัดนี้ที่พระรูปนี้เสื่อมจากพระรัตนตรัย แม้ในอดีตก็เสื่อมจากหญิงงามเช่นกัน

ในอดีตกาล เมื่อต้นภัทรกัปนี้ (เมื่อโลกเกิดขึ้นใหม่ๆ) สัตว์ทั้งหลายต่างก็ตั้งพวกของตนให้เป็นหัวหน้า เช่น พวกปลาได้ตั้งปลาอานนท์เป็นหัวหน้า พวกนกได้ตั้งหงส์เป็นหัวหน้า ส่วนสัตว์สี่เท้าได้ตั้งราชสีห์เป็นหัวหน้า

ครั้งหนึ่งพญาหงส์ซึ่งเป็นหัวหน้าของบรรดานกทั้งหลาย มีความประสงค์จะให้ลูกสาวผู้เลอโฉมได้แต่งงาน จึงประชุมบรรดานกทั้งหมด แล้วให้ลูกสาวเลือกคู่ได้เองตามใจชอบ

ลูกสาวแสนสวยของพญาหงส์ได้เดินชะแง้แลมองบรรดานกหนุ่มที่ชูคอสลอน ณ ที่นั้น เธอเดินไปเดินมาหลายรอบ ในที่สุดก็ได้พบกับนกยูงใหญ่ตัวหนึ่ง รูปร่างท่าทางองอาจผึ่งผาย มิหนำซ้ำที่คอยังมีสีเหมือนแก้วมณี มีหางอันงามวิจิตร เป็นที่สะดุดตา เลยเกิดชอบใจ จึงกลับไปบอกพ่อกับแม่ของเธอทันที

“ตกลงพ่อยกเจ้าให้กับนกยูงผู้งามสง่า” พญาหงส์ประกาศ 

นิทานชาดก มุณิกชาดก : กินสบายตายเร็ว

นิทานชาดก วัว หมู

เหตุที่ตรัสชาดก มุณิกชาดก : ทรงปรารภหญิงอ้วนผู้ประเล้าประโลมภิกษุรูปหนึ่ง และพระรูปนั้นต้องการจะสึก

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

มีบ้านตระกูลหนึ่งเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่ทำนา เขาเลี้ยงวัวไว้ 2 ตัว ชื่อมหาโลหิต วัวผู้พี่ และจูฬโลหิต วัวผู้น้อง และยังมีหมูอ้วนอีกตัวหนึ่งชื่อว่า มุณิกะ อยู่ในคอกข้างๆ กัน

ทุกๆ เช้า วัวทั้งคู่ต้องออกไปไถนาและเทียมเกวียนบรรทุกสิ่งของไปยังที่ต่างๆ กว่าจะกลับก็ค่ำมืด วัวทั้งสองต่างก็เหน็ดเหนื่อยเป็นอันมาก อาหารที่พวกมันได้กินอยู่ทุกวันก็คือหญ้าแข็งๆ กับฟางแห้ง วันละเล็กน้อยและน้ำเปล่า เท่านั้น ผิดกับเจ้าหมูอ้วนที่วันๆ

ไม่ต้องทำอะไรได้แต่กินกับนอน อาหารที่เจ้าหมูได้กินก็มีแต่ข้าวปลาอาหารอย่างดีน่าอร่อยทั้งนั้น วันหนึ่งเมื่อวัวทั้งสองกลับมาถึงคอกวัวด้วยความอ่อนเพลีย วัวตัวน้องก็ปรารภกับวัวตัวพี่อย่างขมขื่น