Tag Archives: อนิเมชั่น

นิทานชาดก ติตติรชาดก : นกกระทา ลิง ช้าง พี่น้อง 3 เผ่าพันธุ์

นิทานชาดก นกกระทา ลิง ช้าง

เหตุที่ตรัสชาดก ติตติรชาดก : ครั้งหนึ่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้นิมนต์พระศาสดาและพระภิกษุไปยังนครสาวัตถี ในระหว่างทางต้องมีการค้างพักแรมที่เมืองเวลาลี พระหนุ่มๆที่ล่วงหน้ามาก่อนต่างจับจองอาสนะที่พักของตน พระสารีบุตรซึ่งเป็นพระเถระมีอายุมาก และคณะมาถึงทีหลังจึงไม่ได้ที่พัก ต้องพักอยู่ใต้ต้นไม้ รุ่งเช้าพระพุทธเจ้าเห็นจึงตรัสถาม เมื่อทราบความจึงเกิดสลดใจว่าขนาดท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่พระภิกษุยังทะเลาะกัน จึงทรงปรารภการไม่เคารพกันของพระภิกษุ

ในอดีตกาล ที่ป่าใหญ่แห่งหนึ่ง มีต้นไทรต้นใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของนกกระทา ลิง และช้าง แม้ทั้งสามจะอาศัยอยู่ที่ต้นไทรต้นเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้มีความเคารพยำเกรงกันเลย เจ้าช้างนึกอยากเขย่าต้นไทรเมื่อไรก็เขย่า เจ้าลิงก็คอยแต่จะแกล้งเพื่อนตามประสาความซน ส่วนเจ้านกกระทาก็ชอบร้องเพลงตอนกลางคืนรบกวนเพื่อนๆ ที่จะนอน

ทั้งสามอยู่กันด้วยความขุ่นข้องหมองใจเสมอมา จนกระทั่งวันหนึ่ง มันก็คิดขึ้นได้ว่าขืนอยู่กันอย่างนี้ต่อไป คงไม่มีความสงบสุขแน่ จึงหันมาคุยกันว่าพวกมันควรให้ความเคารพและเชื่อฟังแก่ผู้ที่แก่กว่า …แต่เอ…แล้วพวกมันจะรู้ได้ยังไงว่าใครแก่กว่า

ในที่สุดเจ้านกกระทาก็คิดขึ้นมาได้

“ถ้าอย่างนั้นใช้ต้นไทรนี้เป็นตัวบอกอายุก็แล้วกัน เริ่มที่เจ้าช้างก่อนนะ เจ้าเห็นต้นไทรนี้ครั้งแรกเมื่อไร” นกกระทาถาม

นิทานชาดก สกุณชาดก : คิดว่าตัวฉลาดเลยพลาดท่า

นิทานชาดก สกุณชาดก

เหตุที่ตรัสชาดก สกุณชาดก : ภิกษุรูปหนึ่งได้ออกจากวัดเชตวันไปจำพรรษาที่ชนบทแห่งหนึ่ง ไม่ทันไรก็ถูกไฟไหม้บรรณศาลา ท่านจึงจำต้องพักอาศัยอยู่กลางแจ้ง ตลอดพรรษา 3 เดือน การอาศัยในที่ไม่เป็นสัปปายะเป็นอุปสรรคในการทำภาวนา เวลาผ่านไป 3 เดือนท่านจึงยังไม่ได้บรรลุธรรมใดๆ

ในอดีตกาล ณ ป่าใหญ่ใกล้เมืองพาราณสี มีนกหลายพันตัวทำรังอาศัยอยู่ที่ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ซึ่งมีกิ่งก้านสาขาสมบูรณ์ด้วยความสุขสบายเสมอมา

ต่อมา ต้นไม้ใหญ่ต้นนั้นถูกลมพัดกระหน่ำอย่างแรงจนคาคบเสียดสีกัน ส่งเสียงดังสนั่นหวั่นไหว และเกิดควันฟุ้งตลบทั่วบริเวณ

นกหัวหน้าฝูงเห็นเช่นนั้นก็รู้ได้ทันทีว่าไม่ช้าจะเกิดไฟไหม้ขึ้นที่ต้นไม้นี้ ทางที่ดีเรารีบบอกพรรคพวกให้หนีไปเสียก่อนดีกว่า ครั้นแล้วจึงหันมาสั่งพรรคพวกให้รีบอพยพหนีโดยเร็ว

“จะไปไหนกันหรือ หัวหน้า” นกพวกหนึ่งร้องถามขึ้นเพราะเป็นห่วงรังของตน

“ไปไหนก็ได้ ให้ไกลจากที่นี่ไว้ก่อน เพราะเดี๋ยวจะเกิดไฟไหม้แล้ว เห็นไหมล่ะ ควันกลบไปหมดนั่นไง” หัวหน้าตะโกนบอก 

วาจาสุภาษิต : สนุกปากอย่าให้ลำบากคนอื่น

วาจาสุภาษิต การพูดดี

วาจาสุภาษิต คือคำพูดที่เรากลั่นกรองไว้ดีแล้วด้วยใจที่ผ่องใสแล้วค่อยพูดออกมา ประกอบด้วย
1.เป็นเรื่องจริง
2.เป็นคำที่สุภาพ ไม่หยาบคาย ไม่เสียดสี ไม่ดูถูกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของใคร หรือพูดอีกอย่างคือการให้เกียรติคนอื่นนั่นเอง
3.เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ ต่อทั้งคนพูดและคนฟังด้วย
4.พูดด้วยจิตที่เมตตา ปรารถนาดีกับคนฟังจริงๆ โดยไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง
5.ต้องพูดให้ถูกกาลเทศะ คือ ดูเวลาและสถานที่ให้เหมาะสม ว่าเวลาไหนควรพูด และควรพูดที่นี่หรือเปล่า

นอกจากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังให้หลักการพูดเอาไว้อีก 6 ประการ คือ
1.คำไม่จริง ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นที่รัก(ของคนฟัง) = เราจะไม่พูด
2.คำไม่จริง ไม่มีประโยชน์ แต่ว่าเป็นที่รัก(ของคนฟัง) = เราจะไม่พูด
3.ถึงจะเป็นคำจริง แต่ไม่มีประโยชน์ แล้วก็ไม่เป็นที่รัก(ของคนฟัง) = เราจะไม่พูด
4.เป็นคำจริง ไม่มีประโยชน์ แต่เป็นที่รัก(ของคนฟัง) = เราจะไม่พูด
5.เป็นคำจริง มีประโยชน์ แต่ว่าไม่เป็นที่รัก(ของคนฟัง) = อันนี้ต้องรอจังหวะให้ดีค่อยพูด
6.เป็นคำจริง มีประโยชน์ แล้วก็เป็นที่รัก(ของคนฟัง) = เราจึงจะพูด  

นิทานชาดก สัมโมทมานชาดก : หายนะมาเยือนเพราะเพื่อน(นกกระจาบ)ไม่สามัคคี

นิทานชาดก สัมโมทมานชาดก นกกระจาบไม่สามัคคี

เหตุที่ตรัสชาดก สัมโมทมานชาดก : ทรงปรารภการทะเลาะกันของพระญาติทางฝ่ายเมืองกบิลพัสดุ์ กับพระญาติทางฝ่ายเมืองโกลิยะ อันมีต้นเหตุมาจาการที่ชาวเมืองแย่งน้ำกันทำนา ต่างฝ่ายต่างก็ต้องการน้ำ เมื่อตกลงกันไม่ได้ก็ทะเลาะกัน พูดจากระทบกระแทกอีกฝ่ายด้วยความสะใจ ความทราบไปถึงฝ่ายปกครองและราชวงศ์ ทั้งสองฝ่ายจึงยกทัพมาพร้อมรบ

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

ณ ป่าใหญ่แห่งหนึ่ง มีนกกระจาบหลายพันตัวอาศัยอยู่  แต่เมื่อเร็วๆนี้ เป็นที่สังเกตได้ว่า ประชากรนกกระจาบได้หดหายไปจำนวนมาก ฝ่ายหัวหน้าฝูงนกกระจาบเมื่อเห็นพรรคพวกหดหายไปเรื่อยๆ เช่นนั้น ก็พยายามสืบจนได้ความว่า มีนายพรานคนหนึ่งแอบเอาข่ายไปดักจับนกกระจาบ หัวหน้าจึงเรียกประชุมนกกระจาบทั้งหมดแล้วประกาศให้ทราบ และบอกวิธีเอาตัวรอด

“…ดังนั้น ตั้งแต่วันนี้ไป หากพวกเราติดข่ายนายพรานให้พร้อมใจกันเอาศีรษะลอดตาข่าย แล้วพากันออกแรงบินยกข่ายขึ้นไปครอบไว้บนต้นไม้สูงๆ แล้วก็บินหลบออกมาด้านล่าง เท่านี้พวกเราก็จะเอาชีวิตรอดออกมาได้ เข้าใจไหม”

นิทานชาดก นัจจชาดก : ลำแพนลำพอง

เหตุที่ตรัสชาดก นัจจชาดก : ทรงปรารภพระภิกษุผู้มีภัณฑะมากรูปหนึ่ง เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถาม แม้ภิกษุผู้นั้นจะรับว่าจริง แต่ก็โกรธ จึงเปลี้องจีวรออก ยืนเป็นคนเปลือยอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ แล้วหันหลังเดินจากไป สักพักก็มาขอสึก ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้นก็วิพากษ์วิจารย์ต่างๆนานา พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าไม่ใช่แต่ในบัดนี้ที่พระรูปนี้เสื่อมจากพระรัตนตรัย แม้ในอดีตก็เสื่อมจากหญิงงามเช่นกัน

ในอดีตกาล เมื่อต้นภัทรกัปนี้ (เมื่อโลกเกิดขึ้นใหม่ๆ) สัตว์ทั้งหลายต่างก็ตั้งพวกของตนให้เป็นหัวหน้า เช่น พวกปลาได้ตั้งปลาอานนท์เป็นหัวหน้า พวกนกได้ตั้งหงส์เป็นหัวหน้า ส่วนสัตว์สี่เท้าได้ตั้งราชสีห์เป็นหัวหน้า

ครั้งหนึ่งพญาหงส์ซึ่งเป็นหัวหน้าของบรรดานกทั้งหลาย มีความประสงค์จะให้ลูกสาวผู้เลอโฉมได้แต่งงาน จึงประชุมบรรดานกทั้งหมด แล้วให้ลูกสาวเลือกคู่ได้เองตามใจชอบ

ลูกสาวแสนสวยของพญาหงส์ได้เดินชะแง้แลมองบรรดานกหนุ่มที่ชูคอสลอน ณ ที่นั้น เธอเดินไปเดินมาหลายรอบ ในที่สุดก็ได้พบกับนกยูงใหญ่ตัวหนึ่ง รูปร่างท่าทางองอาจผึ่งผาย มิหนำซ้ำที่คอยังมีสีเหมือนแก้วมณี มีหางอันงามวิจิตร เป็นที่สะดุดตา เลยเกิดชอบใจ จึงกลับไปบอกพ่อกับแม่ของเธอทันที

“ตกลงพ่อยกเจ้าให้กับนกยูงผู้งามสง่า” พญาหงส์ประกาศ 

นิทานชาดก มุณิกชาดก : กินสบายตายเร็ว

นิทานชาดก วัว หมู

เหตุที่ตรัสชาดก มุณิกชาดก : ทรงปรารภหญิงอ้วนผู้ประเล้าประโลมภิกษุรูปหนึ่ง และพระรูปนั้นต้องการจะสึก

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

มีบ้านตระกูลหนึ่งเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่ทำนา เขาเลี้ยงวัวไว้ 2 ตัว ชื่อมหาโลหิต วัวผู้พี่ และจูฬโลหิต วัวผู้น้อง และยังมีหมูอ้วนอีกตัวหนึ่งชื่อว่า มุณิกะ อยู่ในคอกข้างๆ กัน

ทุกๆ เช้า วัวทั้งคู่ต้องออกไปไถนาและเทียมเกวียนบรรทุกสิ่งของไปยังที่ต่างๆ กว่าจะกลับก็ค่ำมืด วัวทั้งสองต่างก็เหน็ดเหนื่อยเป็นอันมาก อาหารที่พวกมันได้กินอยู่ทุกวันก็คือหญ้าแข็งๆ กับฟางแห้ง วันละเล็กน้อยและน้ำเปล่า เท่านั้น ผิดกับเจ้าหมูอ้วนที่วันๆ

ไม่ต้องทำอะไรได้แต่กินกับนอน อาหารที่เจ้าหมูได้กินก็มีแต่ข้าวปลาอาหารอย่างดีน่าอร่อยทั้งนั้น วันหนึ่งเมื่อวัวทั้งสองกลับมาถึงคอกวัวด้วยความอ่อนเพลีย วัวตัวน้องก็ปรารภกับวัวตัวพี่อย่างขมขื่น 

นิทานชาดก กัณหชาดก : คนโกงวัว

นิทานชาดก กัณหชาดก คนโกงวัว

เหตุที่ตรัสชาดก กัณหชาดก : ทรงปรารภการทำกิจของพระองค์ที่ไม่มีใครสามารถทำได้ เช่นการไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ การเปิดโลกทั้งสามให้เห็นซึ่งกันและกันคือ โลกมนุษย์ โลกสวรรค์ และนรกในวันมหาปวารณา (ออกพรรษา)

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

มีหญิงชราคนหนึ่งหาเลี้ยงชีพด้วยการแบ่งห้องให้คนเดินทางมาเข้าพัก วันหนึ่งคนเดินทางได้ให้ลูกวัวสีเหมือนดอกอัญชันแก่หญิงชราเพื่อเป็นค่าตอบแทน หญิงชรารู้สึกรักและถูกชะตากับลูกวัวตัวนี้มาก จึงเลี้ยงดูมันอย่างดีเหมือนกับเป็นลูกคนหนึ่งของแกเลยทีเดียว และตั้งชื่อให้มันว่า “อัยยิกากาฬกะ” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “กัณหะ

เมื่อเจ้าวัวกัณหะโตเป็นหนุ่ม มันได้รู้สำนึกบุญคุณหญิงชราที่แม้จะยากจนแต่ก็เลี้ยงดูมันมาอย่างดี มันจึงคิดตอบแทนคุณหญิงชราด้วยการไปรับจ้างลากของ

นิทานชาดก นันทิวิสาลชาดก : โคนันทิวิศาล ชอบฟังคำขานอันไพเราะ

นิทานชาดก โคนันทวิศาล นันทิวิสาลชาดก

เหตุที่ตรัสชาดก นันทิวิสาลชาดก : ทรงปรารภการพูดเสียดแทงให้เจ็บใจของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์  (ภิกษุฉัพพัคคีย์ คือ กลุ่มเพื่อนชาวกรุงสาวัตถี ๖ คน มาบวชเพื่อหาลาภสักการะ ประพฤติตัวไม่เหมาะสม เป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องบัญญัติพระวินัยมากมาย)

นานมาแล้ว มีพระราชาพระนามว่า คันธาระ ครองราชสมบัติอยู่ในเมืองตักกสิลา แคว้นคันธาระ

มีพราหมณ์คนหนึ่งได้ลูกวัวมาเลี้ยง แกรักมันเหมือนกับลูก ให้กินข้าวต้มข้าวสวยเหมือนมนุษย์ และตั้งชื่อว่า นันทิวิศาล

โคนันทิวิศาลเติบโตขึ้นโดยลำดับ และมีกำลังวังชาแข็งแรงอย่างยิ่ง มันตั้งใจจะสนองคุณพราหมณ์ที่เลี้ยงดูมันมาตั้งแต่เล็ก จนวันหนึ่งนันทิวิศาลนึกอุบายได้จึงได้บอกให้พรามณ์ไปท้าพนันกับวินทกเศรษฐี โดยวางเงินกันพันนึง

นิทานชาดก มหิฬามุขชาดก : ช้างดุร้ายเพราะฟังคำร้ายจากคนพาล

นิทานชาดก มหิฬามุขชาดก ช้างดุร้าย

เหตุที่ตรัสชาดก มหิฬามุขชาดก : ทรงปรารภพระภิกษุรูปหนึ่งผู้บวชในสำนักของพระองค์ แต่ถูกเพื่อนผู้บวชในสำนักพระเทวทัตชวนไปฉันภัตตาหารรสเลิศต่างๆ ที่วิหารพระเทวทัต โดยโน้มน้าวว่าไม่ต้องออกบิณฑบาตให้เหนื่อย ก็มีอาหารอร่อยฉัน ภิกษุนั้นแอบไปฉันอาหารที่สำนักนั้นเป็นประจำตั้งแต่เช้าตรู่ พอสายจึงค่อยย่องกลับมา จนเพื่อนพระจับได้และกล่าวโทษว่าไม่ควรไปฉันอาหารจากพระเทวทัตผู้ซึ่งได้ลาภสักการะมาโดยไม่ชอบธรรม

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระองค์มีช้างมงคลอยู่หนึ่งเชือก เป็นช้างพระที่นั่ง มีกิริยาสงบเสงี่ยมเรียบร้อย นามว่า มหิฬามุข อยู่ในโรงช้างในพระราชวัง

ต่อมา พวกโจรพากันมานั่งจับกลุ่มสนทนากันอยู่ข้างโรงช้างเป็นเวลาหลายคืน เรื่องที่สนทนานั้นเกี่ยวกับเรื่องปล้นสะดมตีชิงวิ่งราวฆ่าเจ้าทรัพย์ พร้อมทั้งแนะนำกันให้นิยมทางร้ายกาจ ปราศจากความเมตตากรุณา

ฝ่ายช้างมหิฬามุข เมื่อได้ยินดังนั้นหลายครั้งเข้าก็เข้าใจว่า คนพวกนั้นแนะนำให้ตนร้ายกาจบ้างจึงเปลี่ยนนิสัยเดิมทันที

นิทานชาดก อภิณหชาดก : เพื่อนหาย ใจหาย

นิทานชาดก ช้าง สุนัข อภิณหชาดก

เหตุที่ตรัสชาดก : ทรงปรารภอุบาสกคนหนึ่งกับพระเถระแก่ ที่มีความสนิทสนมกันมาก ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระองค์มีช้างมงคลหัตถีตัวหนึ่งเลี้ยงไว้ในโรงช้างภายในพระราชวัง ต่อมามีลูกสุนัขตัวหนึ่งเข้าไปอาศัยกินข้าวอยู่ในโรงเลี้ยงช้างนั้นเป็นประจำจนคุ้นเคยสนิทสนมกับช้าง ช้างได้จับลูกสุนัขนั้นขึ้นชูเล่น บางทีก็ยกขึ้นวางไว้บนศีรษะของมันด้วยความรักใคร่อย่างยิ่ง

วันหนึ่งมีคนมาขอซื้อลูกสุนัขตัวนั้นออกไปเลี้ยงที่อื่น และตั้งแต่มันหายไป ช้างเศร้าโศกคิดถึงแต่ลูกสุนัขตัวนั้น ไม่เป็นอันกินหญ้าและน้ำแลย

คนเลี้ยงช้างเห็นดังนั้นจึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าพรหมทัตให้ทรงทราบ พระองค์รับสั่งให้อำมาตย์ผู้หนึ่งไปสังเกตการณ์ เมื่ออำมาตย์ผู้นั้นไปตามรับสั่งแล้วก็ได้ทราบว่าที่ช้างมงคลตัวนี้มีอาหารซึมเศร้า