นิทานชาดก สุวรรณหังสชาดก : หงส์ทองถูกถอนขน

สุวรรณหังสชาดก

เหตุที่ตรัส สุวรรณหังสชาดก : ทรงปรารภภิกษุณี ชื่อ ถุลลนันทา ที่ไปขนกระเทียมที่บ้านเจ้าภาพอย่างไม่รู้ประมาณ

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในนครพาราณสี

มีพราหมณ์คนหนึ่ง มีลูกสาว3 คน ชื่อ นางนันทา นางนันทวดีและนางสุนันทา ต่อมาได้แต่งงานและไปอยู่กินบ้านสามี ส่วนพราหมณ์ผู้บิดาก็ตายไปเกิดเป็นหงส์ทอง

หงส์ทองตัวนั้น เมื่อเติบโตมาก็ระลึกชาติได้ จึงนึกถึงภรรยาและลูกสาวเห็นว่าต้องเลี้ยงชีพด้วยความแร้นแค้นจึงคิดจะสงเคราะห์ด้วยการให้ขนทองคำของตนไว้ครั้งละ 1 ขน เพื่อคนทั้งสี่ จะได้อยู่กันอย่างสุขสบาย

พญาหงส์ทองจึงบินไปที่บ้าน ภรรยาเขาเห็นเข้าจึงเอ่ยถาม

พ่อคุณ เจ้ามาจากไหนกันเล่า”’

 

เราคือสามีของเจ้าที่ตายไป ได้มาเกิดเป็นหงส์ทองอยู่ที่ป่าหิมพานต์ และเห็นว่าพวกเจ้าอยู่กันอย่างลำบาก เราจะให้ขนทองคำของเราแก่พวกเจ้า เอาไปขายเป็นการเลี้ยงชีพ” ว่าแล้วเจ้าหงส์ทองก็สลัดขนของตนไว้

นางพราหมณีและลูกสาวได้เอาขนทองคำนั้นไปจำหน่ายขายกินเลี้ยงชีวิตให้ดีขึ้นโดยลำดับ ส่วนหงส์ทองก็ไปมาหาสู่อยู่เรื่อยๆ และสลัดขนทิ้งไว้ให้ทุกครั้ง

วันหนึ่งนางพราหมณีปรึกษากับลูกๆว่า

ขึ้นชื่อว่าสัตว์เดียรัจฉานน่ะไว้ใจไม่ได้ ถ้าวันไหนพ่อเจ้าไม่มาละ เราจะเอาอะไรกิน แม่ว่าเราจับหงส์ทองนั่นถอนขนให้หมดเสียดีกว่า”

อย่าเลยแม่ ทำอย่างนั้นพ่อก็เจ็บตัวแย่ สงสารพ่อน่ะ” ลูกสาวทั้งสามไม่เห็นด้วย

ไม่เป็นไรหรอก เจ็บแป๊บเดียว เราน่ะอดอยากกันมาตั้งนาน แล้วถอนขนไปเดี๋ยวขนใหม่ก็ขึ้น” นางพราหมณียังไม่วายคิดชั่ว

อย่าทำนะแม่ สงสารพ่อ” ลูกสาวยังคงคัดค้าน

เมื่อไม่มีลูกสาวคนไหนเห็นด้วย นางพราหมณีจึงไล่ลูกสาวทั้ง 3 กลับไป แล้วตั้งหน้าตั้งตารอสามีของตัวเอง

เมื่อหงส์ทองมาอีก นางพราหมณีจึงเรียกเข้าไปใกล้ แล้วก็จับไว้ด้วยมือทั้งสอง จับถอดขนเสียโกร๋นไปทั้งตัว แต่เพราะการจับถอนขนโดนพละการโดยที่เจ้าของไม่ได้ให้ ขนทองคำจึงกลายเป็นสีขาวเหมือนขนนกยางธรรมดา

ส่วนหงส์ทองไม่สามารถจะบินไปไหนได้จึงถูกจับขังไว้ในโอ่ง และขนที่งอกขึ้นมาใหม่ก็กลายเป็นสีขาวไปหมด เมื่อขนขึ้นเต็มตัวแล้วเจ้าหงส์ก็บินกลับไปยังที่อยู่ของตนโดยไม่กลับมาอีกเลย

ข้อคิดจากชาดก สุวรรณหังสชาดก :
1.
โลภมากลาภหาย
2.
อกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ย่อมไม่เจริญ

ประชุมชาดก
นางพราหมณีในครั้งนั้น ได้เกิดเป็น ภิกษุณีถุลลนันทา
พญาหงส์ทอง ได้เกิดเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สุวรรณหังสชาดก