Tag Archives: ช้างเผือก

อลีนจิตตชาดก : ช้างเผือกกตัญญู จากรุ่นพ่อต่อรุ่นลูก

อลีนจิตตชาดก ช้างเผือก

เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงเล่า อลีนจิตตชาดก : ทรงเล่าเพื่อเป็นกำลังใจให้พระภิกษุรูปหนึ่งที่มีความย่อหย่อนในการทำความเพียร และอยากจะสึก

กาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี

มีหมู่บ้านช่างไม้อาศัยอยู่ไม่ไกลจากเมือง พวกเขามักจะล่องเรือไปตัดไม้ทางเหนือ เพื่อนำกลับมาสร้างบ้านขายให้กับชาวเมือง อยู่มาวันนึงขณะที่พวกเขากำลังช่วยกันตัดไม้อยู่ในป่า มีช้างป่าตัวนึงเหยียบตอต้นตะเคียนเข้า ตอไม้ได้แทงเข้าไปในเท้าช้าง มันเจ็บปวดมาก และเท้ามันบวมเป็นหนอง  ได้รับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส ไม่รู้จะทำยังไง 

เจ้าช้างได้ยินเสียงตัดไม้ของช่างไม้อยู่ไม่ไกล จึงตัดสินใจเดินเข้าไปหา แล้วหมอบลงใกล้ๆ

ช่างไม้เห็นช้างเท้าบวมก็เลยรีบเข้าไปดู 

“เห้ย นั่นนายไปเหยียบอะไรมา เท้าบวม เลือดโชกขนาดนี้ พวกเรา มาช่วยกันทำแผลให้เจ้าช้างนี่หน่อย”

ช่างไม้ทั้งหมดต่างก็รีบมาช่วยกันปฐมพยาบาลทันที  ด้วยการใช้มีดกรีดรอบตอไม้ ผูกเชือกแล้วช่วยกันดึงออกมา บีบหนองแล้วล้างด้วยน้ำอุ่น แล้วก็ใส่ยาทาแผล ไม่นานนักช้างก็หายเจ็บปวด เจ้าช้างคิดว่า

“เรารอดชีวิตมาได้ เพราะช่างไม้ ได้ช่วยเหลือเราไว้ เราควรจะอยู่ช่วยพวกเขาทำงานเพื่อเป็นการตอบแทน” 

ตั้งแต่นั้นมา เจ้าช้างตัวโตก็อยู่เป็นลูกมือช่างไม้ ช่วยลากซุงบ้าง ช่วยพลิกไม้บ้าง หยิบของส่งให้บ้าง  แต่ตอนนี้เจ้าช้างมันแก่มาก และทำงานหนักต่อไปไม่ไหว ก็เลยคิดว่า จะให้ลูกของมันมาอยู่รับใช้ช่างไม้แทนตัวเองต่อไป จึงเข้าป่าไปพาลูกช้างเผือกของตน มามอบให้กับเหล่าช่างไม้ และบอกกับช่างไม้ว่า

“นี่คือลูกช้างเผือกของเรา เราขอมอบลูกให้กับท่านเพื่อเป็นการตอบแทนน้ำใจที่ช่วยเหลือชีวิตเรา ตั้งแต่นี้ ลูกเผือกจะได้มาอยู่ช่วยท่านทำงาน เราก็แก่มากแล้วขอไปตามทางของเรา ขอให้ท่านจงเอ็นดูลูกของเราด้วยเถอะ”

 

แล้วหันไปสอนลูกว่า

“ช่างไม้เหล่านี้มีพระคุณกับพ่อมาก พวกเขาได้ช่วยเหลือชีวิตพ่อไว้ เจ้าจงอยู่ตอบแทนคุณของเขาแทนพ่อเถอะ”

“ได้ครับพ่อ พ่อไม่ต้องห่วง พ่อกลับไปอยู่กับแม่เถอะ ทางนี้ ผมจะดูแลเอง” 

เจ้าช้างเผือกน้อยตอบพ่อด้วยความมั่นใจ 

นิทานชาดก สีลวนาคชาดก : ช้างช่วยชีวิต แต่คนคิดทำลายช้าง

นิทานชาดก สีลวนาคชาดก

เหตุที่ตรัสชาดก สีลวนาคชาดก : ทรงปรารภพระเทวทัต เมื่อพระภิกษุทั้งหลายต่างสนทนากันว่าพระเทวดาไม่รู้การมีคุณของพระพุทธเจ้า

ในป่าใหญ่แห่งหนึ่ง พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นพญาช้างเผือกมีชื่อว่า “สีลวนาคราช” ได้ปกครองช้างกว่าแปดหมื่นเชือกเป็นบริวาร ภายหลังได้เห็นโทษภัยในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ใหญ่จึงหลีกเร้นออกจากหมู่คณะไปอยู่่ในป่าแต่ลำพัง

ในครั้งนั้น มีพรานป่าชาวเมืองพาราณสี ได้เข้ามาหาของป่าบริเวณนั้น แต่กลับหลงป่าหาทางออกไม่ได้ จึงได้แต่ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ที่แห่งนั้นเอง

พญาช้างเผือก สีลวนาคราช ได้ยินเสียงร้องก็รู้ได้ว่ามีคนหลงป่า คิดจะช่วยเหลือ จึงเดินเข้าไปหา พรานป่าเห็นช้างใหญ่เดินเข้ามา จึงวิ่งหนี เมื่อพรานวิ่ง พญาช้างก็หยุด เมื่อเห็นช้างหยุด พรานก็หยุดด้วย เมื่อพรานหยุด ช้างก็เริ่มเดินเข้าไปหาใหม่ เป็นอยู่อย่างนี้หลายรอบ นายพรานจึงคิดได้ว่า พญาช้าง นี้คงไม่คิดทำอันตรายเรา แต่คงจะมาช่วยเราแน่ๆ เขาจึงหยุดเมื่อช้างเดินเข้ามาหา

พญาช้าง เดินเข้าไปใกล้แล้วถามว่า เหตุใดเขาจึงร้องไห้คร่ำครวญเช่นนั้น

นายพราน จึงตอบไปว่าเขาหลงป่าหาทางออกไม่ได้ และกลัวตาย

นิทานชาดก ทุมเมธชาดก : พระราชาคิดฆ่าช้างเผือก

เหตุที่ตรัสชาดก ทุมเมธชาดก : ทรงปรารภความอิจฉาริษยาของพระเทวทัตที่มีต่อพระพุทธองค์

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้ามคธเสวยราชสมบัติในกรุงราชคฤห์

พระองค์มีช้างพระที่นั่งเชือกหนึ่ง เป็นพญาช้างเผือกที่มีลักษณะสมบูรณ์ด้วยลักษณะอันประเสริฐทุกประการ

วันหนึ่งมีงานมหรสพประจำปี พระองค์โปรดให้ประดับตกแต่งพระนครอย่างงดงามราวสรวงสวรรค์ แล้วทรงช้างพระที่นั่งเลียบพระนครตามขัตติยประเพณี

ฝ่ายพสกนิกรทั้งหลายที่เฝ้าชมพระบารมี เมื่อได้เห็นช้างพระที่นั่ง ก็พากันโสมนัสปรีดา ต่างก็ชื่นชมพรรณาถึงช้างเผือกเท่านั้น ว่างามอย่างนั้นอย่างนี้ มิได้สนใจพระราชาที่ประทับบนหลังช้างแม้แต่น้อย

เมื่อพระราชาประสบเหตุการณ์ดังนั้น ก็ทรงแค้นเคืองพระทัย มีจิตริษยาช้างเผือกของพระองค์เองและตั้งใจว่าจะฆ่าช้างเชือกนี้ให้ได้ จึงได้ตรัสถามควาญช้างว่า 

“ช้างตัวนี้ เจ้าฝึกดีแล้วรึ”

“ฝึกดีแล้วพระเจ้าข้า” นายหัตถาจารย์ทูลตอบ

“ข้าจะให้ช้างตัวนี้ขึ้นไปบนยอดเขาได้ไหม” พระราชาถามต่อ